สวัสดีนักพิมพ์3D ทุกท่าน วันนี้ทาง 3DBKK จะพามาชมเครื่อง Scan 3มิติ ของทางค่าย CREALITY ซึ่งแน่นอนว่า ค่ายนี้เน้นทำให้สำหรับผู้บริโภคทั่วไปเข้าถึงได้ ราคาย่อมเยาว์ หลายท่านมักจะสงสัยว่าจะใช้กับชิ้นงานแบบไหนได้บ้าง ซึ่งเราจะทำการรีวิวให้ดูกับงานหลายๆขนาด
เกริ่นนำก่อนว่าทางร้านปกติใช้ 3D Scanner ของ CREAFORM ซึ่งราคาและ Spec ไม่สามารถเทียบได้กับรุ่น compact โดยราคาที่ซื้อเมื่อ 10ปีที่แล้ว อยู่ที่ 2ล้าน+รวมSoftware แต่ในการรีวิวนี้อาจจะมีเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าถ้าเปรียบเทียบกับรุ่นที่แพงๆอะไรที่แตกต่างกันบ้าง
ในส่วนของ Unboxing เปิดมาก็จะเจออุปกรณ์หลากหลายรายการ แต่รายการที่ท่านอาจจะสงสัยคือตัวฐานหมุน สำหรับทำ Table Scan ที่มีที่ใส่ถ่าน AAA แต่ไม่ได้แถมถ่านมาให้ อันนี้ไม่ต้องใช้ถ่านนะครับ ทาง Creality น่าจะสั่ง Common มาจากแบบปกติ โดยตัวนี้จะใช้ไฟโดยตรงจากกล้องเลย อย่าพลาดไปซื้อถ่านมาแบบทางร้านนะครับ 55
โดยรุ่นนี้สามารถทำงานได้ 2แบบ คือ แบบถือ และแบบตั้งบนโต๊ะหมุน ซึ่งแบบถือจะเหมาะกับงานชิ้นใหญ่ ส่วนโต๊ะหมุนนั้นจะเหมาะสำหรับงานขนาดที่เล็กลงมา
โดยเราจะเริ่มจากแบบ Hand mode โดยก่อนที่จะเริ่ม Scan นั้น ทาง Creality ได้ให้ไฟล์สำหรับพิมพ์มือจับซึ่งจะทำให้ Scan แบบ Hand mode ได้ง่ายขึ้นมาก เนื่องจากจริงๆแล้วภาพจะมาในแนวตั้ง โดยไฟล์สำหรับพิมพ์มือจับนั้นจะอยู่ใน USB ที่ให้มา สำหรับการใช้หัว 0.4mm พิมพ์อาจจะใช้เวลานานสักนิดนึง ประมาณ 10-18ชม. ดังนั้น แนะนำให้เตรียมหัวขนาดใหญ่ไว้ก็จะดีครับ ในรูปที่มี2สีเนื่องจากทางร้านใช้เส้นเหลือๆมาพิมพ์นะครับ 🙂
ชิ้นงานที่ทางร้านทดลอง Scan จะเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ครับ ชิ้นแรกที่ทดสอบจะเป็นกรอบกระจกมองข้าง ซึ่งเป็นชิ้นส่วนยอดนิยมที่ลูกค้ามาให้ทางร้าน Scan เพื่อไปทำกรอบแต่ง ซึ่งเมื่อ Scan สิ่งแรกที่พบคือ จุดที่เป็นสีดำและจุดทีสะท้อนแสงจะไม่ขึ้นภาพ แนะนำให้ใช้สเปร์ยแป้งพ่นชิ้นงานก่อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเครื่อง Scanner ครับ ในส่วนของสายไฟและสายข้อมูลที่เชื่อมต่อกับ PC ก็ถือว่าให้มายาวพอสมควร ไม่ได้ติดปัญหาอะไรตอน Scan เส้นโค้งชิ้นงานขึ้นชัดเจนสามารถนำ Mesh ไปใช้ต่อได้สบายๆ
ถัดมาจะทดลองแผงด้านในของประตู เส้นโค้งต่างๆออกมาได้น่าประทับใจ แต่ด้วยความละเอียดของตัวเครื่องอาจจะเริ่มไม่เห็นเส้นที่ลำโพงชัดมากนัก ปัญหาที่พบก็คือหาก Scan พื้นที่มากๆในคราวเดียวโปรแกรมอาจจะค้างได้ ซึ่งปกติโปรแกรมที่ทางร้านใช้ Scan งานที่ใหญ่กว่านี้ใช้ได้ไม่มีปัญหา สามารถแก้ไขได้ด้วยการค่อยๆ Scan ทีละมุมแล้วนำมาประกบกัน
ถัดมาเรามาลอง Table Mode ข้อควรระวังของ Mode นี้คือ เมื่อต่อสายครบตามคู่มือแล้ว ให้เราหมุนปรับความเร็ว และกดปุ่มสีแดงของฐานหมุนไปทางด้านใดก็ได้ หากมันนิ่งไม่ต้องตกใจครับ ฐานนี้จะหมุนเมื่อกำลัง Scan เท่านั้น
โดยเราเริ่มทดลองจากสว่านไฟฟ้า CR-Scan01 สามารถเก็บได้หมดรอบชิ้นงานในครั้งเดียว แต่อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ จุดที่เป็นสีดำก็จะยังไม่ติด
ถัดมาลองชิ้นงานที่เป็นชิ้นส่วนรถยนต์ที่เล็กลงมา ขนาดประมาณ 10cm. ก็สามารถ Scan ได้อยู่
โดยงานนี้เราทำการ Scan 3มุม แล้วนำมาประกอบกัน โดยใช้คำสั่ง Auto ก็สามารถประกบกันได้อย่างสมบูรณ์ โดยเมื่อทำการปรับปรุงไฟล์งานเรียบร้อยแล้วทดลองวัดชิ้นงานระหว่างงานจริง และไฟล์งาน พบว่าใกล้เคียงกันมาก ถือว่าทำได้ดีเกินคาด
ท้ายสุดทดลองงานยอดนิยม พระเครื่องขนาดเล็ก พบว่าไม่สามารถ Scan ได้เนื่องจากเล็กเกินไป
สรุป
เครื่องนี้เหมาะสำหรับผู้ที่จะนำ Mesh ไปใช้งานต่อ หรือหากต้องการได้ไฟล์ Obj Stl ไปปรับเล็กน้อยแล้วพิมพ์ก็ได้ แต่อาจต้อง Scan ให้ละเอียดนิดนึง สำหรับค่าตัวที่ประมาณ 20,xxxบาท นี้ถือว่าทำได้ดี สามารถให้เด็กใช้ หรือทดลองใช้เองก่อนต่อยอดไปรุ่นดีๆได้ ความเร็วในการถ่ายไม่ช้าเกินไปอาจจะต้องค่อยๆ Scan แต่ก็ไม่มีปัญหาใดๆ
ชิ้นงานที่เหมาะสมอาจจะต้องใหญ่สักนิดนึง
วัสดุกรอบภายนอกเป็นสีขาว ทำให้ดำง่ายและดูเก่าเร็ว ในด้านความทนทานทางร้านขออนุญาตไม่ทดลอง แต่ไม่แนะนำให้ทำตกเด็ดขาด 🙂
คะแนน
ความละเอียด | 8.0 | น้อยกว่ารุ่นแพงๆประมาณครึ่งนึง แต่ด้วยราคาถือว่าปกติ |
โปรแกรม | 8.0 | เน้นทำให้ใช้ง่าย แต่ไม่สามารถปรับแต่ง Mesh ได้เท่าที่ควร อาจมีUpdateภายหลัง |
วัสดุ | 7.5 | วัสดุที่ใช้อยู่ในระดับมาตรฐาน |
ความสะดวก | 9.0 | สายไฟให้มายาวพอ การต่อไม่ยาก เคลื่อนย้ายสะดวก |
ความคุ้มค่ากับราคา | 8.0 | เหมาะกับผู้เริ่มต้น |
คะแนนรวมเฉลี่ย | 8.1 | ดี |
สเปค CR-Scan 01
Flame Rate: 10fps
Single Frame Scan Range: 536*378 mm
Accuracy: 0.1 mm
Spatial Resolution: 0.5 mm
Scanning Distance: 400mm-900mm
Output Format: obj / stl และ Mesh Cloud
Leave a Reply